วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของงานแปลในปัจจุบัน

การแปลเป็นเรื่องที่มีแนวคิดรากเหง้าดั้งเดิมมาแต่โบราณ กล่าวคือมีรากเหง้ามาจากทางศาสนา ในศาสนาคริสต์ถือว่าพระวจนะ เป็นธรรมสัจจะขั้นสูงสุด เป็นสิ่งลี้ลับหรือรหัสยนัย หรือว่าในทางพุทธด้วยเหมือนกัน เขาถือว่าเทศน์ต้องเป็นภาษาบาลี สำหรับภาษายิวจะมีคำพูดในเรื่องพวกนี้ เขาก็เลยบอกว่าการแปลเป็นบาป ในคำพูดของศาสนา เป็นการทำให้เสื่อมทราม คือ ทำให้พระวจนะหรือสัจธรรมนั้นเสื่อมทรามลง

อย่างในศาสนายิว ในคัมภีร์ของยิวมีบันทึกความเชื่อว่า โลกตกอยู่ในความมืดมิดถึง ๓ วัน the law คือ "กฎ" ทางศาสนาของยิวถูกแปลเป็นภาษากรีก มันทำให้โลกมืดไปถึง ๓ วัน และความเชื่อว่าการแปลเป็นไปไม่ได้ เกิดจากความเชื่อที่ว่า มันไม่มีทางที่ต้นฉบับกับงานแปลมันจะเกิดความสมมาตรกัน นั่นคือการแปลจะทำให้ต้นฉบับตกต่ำลง เป็นการทำลายคุณค่าของต้นฉบับ เพราะว่าเขาเชื่อว่าในภาษามนุษย์ ความหมายไม่มีทางแยกออกจากรูปแบบการแสดงออก คือ คน ๒ คน ต่อให้พูดภาษาเดียวกัน การแสดงออกทำให้ความหมายเปลี่ยนไป แล้วคำแต่ละคำในแต่ละภาษา มันไม่มีความหมายที่เป็นกลาง แต่มีความหมายที่ฝังรากอยู่ในภาษาศาสตร์ในนิรุกติศาสตร์

อย่างคำว่าพี่ เวลาเรารู้จักกันเราเรียกพี่ มันก็ไม่สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า brother sister ได้ เพราะว่าพี่ของเรามันมีวัฒนธรรมบางอย่างอยู่ ที่ทำให้คำนี้มีความหมายอีกแบบหนึ่ง เหตุผลนี้ ที่เชื่อว่าการแปลเป็นไปไม่ได้ มักจะใช้มากที่สุดในกวีนิพนธ์

งานแปลที่เกี่ยวกับกวีนิพนธ์และปรัชญา


มีความเชื่อว่า การแปลบทกวีเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ากวีนิพนธ์ ถือว่าเป็นการใช้ภาษาที่เนื้อหากับรูปแบบการแสดงออกมีความผูกพันกันมากที่สุด ส่วนในร้อยแก้ว งานที่ถือว่าแปลไม่ได้ ก็คืองานทางปรัชญา ถือว่าคำในปรัชญาแปลไม่ได้ เพราะว่า งานเขียนของนักปรัชญาส่วนใหญ่ มันเป็นความพยายามที่จะคลายกรอบทางด้านภาษาศาสตร์ คำอย่างเช่นของไฮเดกเกอร์ หรือคำของคานซ์ ที่เป็นศัพท์เฉพาะของปรัชญาเมธีเหล่านี้ มันไม่สามารถที่จะแปลออกมา หรือหาคำที่เทียบเคียงกันได้ แม้แต่ศัพท์ใกล้เคียงกันก็ไม่ได้ นี่เป็นความเชื่อของคนที่พูดว่าการแปลเป็นไปไม่ได้

การแปลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความเชื่อว่า การแปลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ฝ่ายที่สนับสนุนว่าการแปลเป็นไปได้ ก็มาจากฝ่ายศาสนาเช่นกัน นอกจากการแปลเป็นไปได้ ยังเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งด้วย อย่างเช่น ในศาสนาคริสต์ มีอยู่ครั้งหนึ่งในยุคก่อนพระเยซู ในยุคต้น ๆ ที่มีการสร้างหอคอยแห่งบาร์เบลขึ้นมา ในสมัยก่อนเขาเชื่อว่าคนทุกคนในโลกพูดภาษาเดียวกันหมด คนได้มาชุมนุมกันว่า อย่างนี้เราน่าจะสร้างหอคอยขึ้นไปหาสวรรค์เรียกว่า "การสร้างหอคอยแห่งบาร์เบล" แต่อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการลบหลู่พระเจ้า พระเจ้าก็เลยทำลายหอคอยนี้ลง และลงโทษมนุษย์ด้วยการให้มนุษย์ทั้งหมดพูดกันไม่รู้เรื่อง ทำให้ภาษาแตกออกไปมากมาย

ในทางศาสนาคริสต์เขาก็บอกว่า แม้ว่าความพินาศของหอคอยบาร์เบล เป็นการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า แต่ไม่ได้หมายความว่าการลงโทษของพระเจ้าถือเป็นที่สุดของคำตัดสิน เพราะว่าหลังจากนั้น พระเจ้าได้ทรงส่งผู้ไถ่บาปมาให้เรา คือ"พระเยซู" เพราะฉะนั้นหมายความว่า การลงโทษของพระเจ้า ไม่ใช่การตัดสินขั้นสุดท้าย มนุษย์ยังมีความหวังอยู่ในการไถ่บาป ดังนั้นกลุ่มนี้เขาก็เลยมองว่า การแปลเป็นเสมือนการกอบกู้ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูความเป็นเอกภาพของศาสนาขึ้นมาใหม่

ถึงขนาดที่มีคำกล่าวของคนที่แปลไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันพูดว่า "การแปลเป็นการไถ่บาป" เพราะฉะนั้นงานแปลที่สำคัญของศาสนาก็คือ"การแปลพระคัมภีร์" โดยเฉพาะในศาสนาคริสต์ การแปลพระคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาอะไรก็ตามเป็นภาษาท้องถิ่น ถือว่าเป็นการทำกุศลกรรมขั้นเอกอุ คือเป็นการทำความดีขั้นสุดยอด และทุกครั้งที่มีการปฏิรูปศาสนาในศาสนาคริสต์ก็จะมีเสียงเรียกร้องให้แปลไบเบิลใหม่

เพราะว่าปฏิรูปศาสนาในศาสนาคริสต์(reformation - A religious movement of the 16th century that began as an attempt to reform the Roman Catholic Church and resulted in the creation of Protestant churches) ไม่รู้ว่าเกิดจากการที่ลูเธอร์แปลไบเบิลใหม่ หรือเกิดหลังอันนี้ไม่แน่ใจ ลูเธอร์ที่เขาปฏิรูปจนทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้นมา

ในทำนองเดียวกัน ฝ่ายที่สนับสนุนการแปลในทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดการแปลจำนวนมาก บางทีเขาเปรียบเทียบว่ากรุงโรม คือวาติกัน ศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ เป็นโรงงานผลิตภาษากรีกมาเป็นภาษาละติน และยุคการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทางปัญญาที่เขาเรียก "เรอเนสซองค์" ก็เกิดจากการแปลโดยเฉพาะการแปลงานของอริสโตเติลมา แต่ความจริงมันเป็นการแปลที่ผิด

เรื่องนี้ตลกดีก็คือว่า ยุคเรอเนสซองค์เกิดมาจากการแปลผิดคือ เกิดมาจากการแปลอริสโตเติล ครั้งแรก เขาไม่ได้แปลจากภาษากรีกโดยตรง แต่เขาเขาแปลมาจากภาษาอาหรับ คือเขาแปลอริสโตเติลจากภาษาอาหรับ และคนแปลเข้าใจอริสโตเติลผิดด้วย แต่มันก็ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผล นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การแปลเฟื่องฟูมากตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา จนกระทั่งมีคำพูดบอกว่า ศาสตร์ทุกศาสตร์ในโลก หมายถึงศาสตร์ทุกศาสตร์ทางตะวันตกเกิดมาจาการแปล หรือว่าที่เกอเต้ เขาเคยพูดในศตวรรษที่ ๑๙ ว่า ใครจะว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่การแปลก็ยังเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด และมีค่าที่สุด ในกิจกรรมทั้งหมดของโลก

ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการแปลเอกสาร ได้ที่: Linguist Center (Answer All Your Language Problems) แปลเอกสาร, รับแปลเอกสาร, แปล, แปลไทยเป็นอังกฤษ, แปลอังกฤษเป็นไทย, โปรแกรมแปลเอกสาร, แปลเอกสารด่วน, แปลเอกสาร, ราคางานแปลเอกสาร, แปลเอกสาร, แปลภาษา, แปลไทย แปลเอกสารราชการ, แปลเอกสารวีซ่า, แปลไทย-อังกฤษ, แปลเอกสารภาษาอังกฤษ, แปลไทย-อังกฤษ, แปลอังกฤษ-ไทย, แปลเอกสารราคาถูก, แปลเอกสารมืออาชีพ, ศูนย์แปลภาษา, ศูนย์แปลเอกสาร, ศูนย์รับแปลเอกสาร, แปลภาษาอังกฤษ, รับแปลงาน, รับแปลเอกสารด่วน, รับแปลเอกสารราคาถูก, รับแปลภาษาญี่ปุ่น, รับแปลภาษาจีน, รับแปลเอกสารภาษัอังกฤษ

ติดต่อได้ที่
http://www.linguistcetner.com/เกี่ยวกับ Linguist Center, บริการของ Linguist Center, คำถามที่พบบ่อยจาก Linguist Center, ข่าวสารของ Linguist Center, ติดต่อ Linguist Center, เกี่ยวกับ Linguist Center, บริการของ Linguist Center, คำถามที่พบบ่อยจาก Linguist Center, ข่าวสารของ Linguist Center, ติดต่อ Linguist Center

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น